รถประกันเป็น ฝ่ายถูก
1.แยกรถไปจอดไว้ในบริเวณที่การจราจรไม่ติดขัด หลังจากคู่กรณียอมรับผิด และทำบันทึกยอมรับผิดแล้ว
2.จดทะเบียนรถ หรือถ่ายภาพรถคู่กรณีหลังเกิดเหตุ หากสามารถกระทำได้, ชื่อ, ที่อยู่ของคู่กรณีตามใบขับขี่ หรือ
บัตรประชาชน
3.จดชื่อ, ที่อยู่ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
4.แจ้งให้บริษัททราบทันที
5.หากท่านเอาประกันภัยประเภท 3 (คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอก) บริษัทจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปบริการแก่ท่านในที่เกิดเหตุและสถานีตำรวจ (หากจำเป็น) ส่วนการติดตามเรียกร้องขั้นต่อไป ท่านต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง
รถประกันเป็น ฝ่ายผิด
1.แยกรถไปจอดไว้ในบริเวณที่การจราจรไม่ติดขัด หลังจากยอมรับผิดแล้ว
2.แจ้งให้บริษัททราบทันที
3.ไม่ควรเซ็นเอกสารใดๆ ให้แก่คู่กรณี จนกว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทจะไปถึง ซึ่งจะเป็นผู้แนะนำแก่ท่านต่อไป
กรณีที่ยังไม่แน่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
1.อย่าทำการเคลื่อนย้ายรถจากที่เกิดเหตุ นอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำเครื่องหมายการเกิดเหตุ และสั่งให้เคลื่อนย้าย
2.แจ้งให้บริษัททราบทันที และไม่ควรให้ปากคำหรือบันทึกต่อผู้ใด ยกเว้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัท
3.ถ่ายภาพรถประกันและรถคู่กรณีหลังเกิดเหตุ หากสามารถกระทำได้
กรณี รถประกันถูกชน แล้วคู่กรณีหลบหนี
กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหลบหนี และทราบทะเบียนรถคู่กรณี ท่านต้องแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุเพื่อแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน
กรณี รถหาย
1.รีบแจ้งสถานีตำรวจท้องที่, ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ (ศปรน.) สายด่วน 1599 และบริษัททันที พร้อมแจ้งรายละเอียดที่จำเป็นคือ ทะเบียนรถ, สีรถ, เลขตัวถัง, สถานที่ และวันเวลาที่หาย
2.รีบจัดส่งเอกสารจำเป็นตามที่บริษัทเรียกจากท่าน เพื่อบริษัทจะดำเนินการตรวจสอบ และพิจารณาการชดใช้ค่าสินไหมให้โดยเร็วที่สุด
หากท่านทราบเบาะแสหรือร่องรอยรถของท่านที่หายไป โปรดแจ้งบริษัททันที และบริษัทจะเก็บข้อมูลของท่านไว้เป็นความลับ
1.ท่านสามารถเลือกจัดซ่อมอู่ในเครือที่บริษัทกำหนดไว้ หรือหากประสงค์จะซ่อมรถกับอู่ที่ท่านเลือกเอง โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
2.ในกรณีซ่อมอู่ในเครือ เมื่อรถของท่านซ่อมเสร็จแล้ว ก่อนเซ็นรับรถ โปรดตรวจผลการซ่อมอย่างละเอียด ไม่ควรตรวจดูรถในที่ที่แสงสว่างไม่ชัดเจน หากพบว่าการซ่อมไม่เรียบร้อย อย่าเซ็นรับรถและรีบแจ้งบริษัทให้ทราบในทันที
3.เวลาที่ใช้ในการดำเนินการจะขึ้นอยู่กับสภาพความเสียหายของรถยนต์
4.กรณีมีผู้บาดเจ็บให้ใช้สิทธิเบิกตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ก่อน หากมีการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เก็บใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ นำส่งให้บริษัท หรือติดต่อศูนย์บริการของบริษัท เพื่อเบิกค่าเสียหายต่อไป
5.บริษัทจะดำเนินการจ่ายค่าสินไหม ภายใน 15 วัน หรือตามที่ตกลงกัน หลังจากที่ลูกค้า จัดส่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กรณีการจัดซ่อมรถยนต์ในศูนย์บริการ (ห้าง) หรืออู่
– ใบตรวจสอบรายการความเสียหาย(ใบเคลม)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาเอกสารหลักฐานที่ ทางราชการออกให้ของผู้ส่งมอบรถยนต์เข้าซ่อม (รับรองสำเนา)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบอนุญาตขับขี่ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ของเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถยนต์ (กรณีรถยนต์คู่กรณี)
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล) (กรณีรถยนต์คู่กรณี)
– สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ (กรณีรถยนต์คู่กรณี)
– ใบประเมินราคาค่าซ่อม (กรณีการจัดซ่อมรถยนต์ในศูนย์บริการ (ห้าง) หรืออู่ที่ไม่ใช่อู่สัญญาของบริษัท)
– ภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์ตามใบประเมินราคาค่าซ่อม (กรณีการจัดซ่อมรถยนต์ในศูนย์บริการ (ห้าง) หรืออู่ที่ไม่ใช่อู่สัญญาของบริษัท)
– ใบเสร็จรับเงิน และหรือใบกำกับภาษี (กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย)
– ภาพถ่ายรถยนต์ และชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์รถยนต์ระหว่างซ่อมและภายหลังจัดซ่อมเสร็จ (กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย)
– หลักฐานการตรวจสภาพรถยนต์ที่จัดซ่อมแล้วเสร็จ (กรณีรถยนต์ผู้เอาประกันภัย)
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
กรณีรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss)
– ใบตรวจสอบรายการความเสียหาย (ใบเคลม)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัย หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
– คู่มือจดทะเบียนรถ
– สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
– สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
– เอกสารการเช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– หนังสือสละสิทธิ์ในการรับค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัยรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
– กุญแจรถ
– คู่มือการใช้รถ
กรณีรถยนต์สูญหาย
– ใบตรวจสอบรายการความเสียหาย(ใบเคลม)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่หรือหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัย หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– แบบหนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
– คู่มือจดทะเบียนรถ
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล)
– สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
– สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
– เอกสารการยกเลิกการใช้รถ เอกสารการอายัดรถยนต์จากสถานีตำรวจ
– เอกสารการเช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– หนังสือสละสิทธิ์ในการรับค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัยรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
– เอกสารกรมธรรม์รถยนต์ฉบับจริง (ถ้ามี)
– กุญแจรถยนต์คันที่สูญหายทั้งหมด (ถ้ามี)
– ในกรณีรถยนต์คันที่สูญหาย หากทราบตัวผู้กระทำความผิด จะต้องมีหมายจับ
– ใบตรวจสอบรายการความเสียหาย(ใบเคลม)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่หรือหนังสือเดินทางในกรณีเป็นผู้เอาประกันภัย หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– แบบหนังสือแสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์และรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
– คู่มือจดทะเบียนรถ
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล)
– สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
– สำเนาคำสั่งศาลที่แต่งตั้งการเป็นผู้จัดการมรดก (กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต)
– เอกสารการยกเลิกการใช้รถ เอกสารการอายัดรถยนต์จากสถานีตำรวจ
– เอกสารการเช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– หนังสือสละสิทธิ์ในการรับค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัยรถยนต์ (กรณีสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์)
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
– เอกสารกรมธรรม์รถยนต์ฉบับจริง (ถ้ามี)
– กุญแจรถยนต์คันที่สูญหายทั้งหมด (ถ้ามี)
– ในกรณีรถยนต์คันที่สูญหาย หากทราบตัวผู้กระทำความผิด จะต้องมีหมายจับ
– สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบอนุญาตขับขี่หรือหนังสือเดินทางหรือหลักฐานอื่นที่รับรองตัวตนของผู้ประสบภัย
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
– ใบรับรองแพทย์ และ/หรือประวัติการรักษาของแพทย์
– ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล หรือสำเนาใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่ายังไม่ได้รับชดใช้เต็มจำนวนตามใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
– สำเนาใบมรณบัตร
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้เสียชีวิตเป็นบุคคลต่างด้าว) (รับรองสำเนา)
– เอกสารแสดงการเป็นทายาททุกคนของผู้เสียชีวิต ได้แก่สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
– เอกสารของทายาททุกคนของผู้เสียชีวิตที่รับค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
– คำสั่งศาลให้บุคคลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ (กรณีที่ทายาทผู้เสียชีวิตเป็นผู้เยาว์)
– หนังสือรับรองยืนยันการเป็นทายาทของสถานฑูตหรือสถานกงสุล พร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย (กรณีเป็นทายาทของบุคคลต่างด้าว)
– หนังสือมอบอำนาจของทายาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีทายาทมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
– สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
– ต้นฉบับ หรือสำเนาใบตรวจสอบรายการความเสียหาย (ใบเคลม)
– สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หลักฐานที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หรือค่าเสื่อมราคารถ เช่น สำเนาใบนำรถเข้าจัดซ่อม/ใบรับรถ รายการอะไหล่ที่ใช้ในการจัดซ่อม สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าซ่อม (ถ้ามี)
– ใบตรวจสอบรายการความเสียหาย (ใบเคลม)
– เอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของทรัพย์สิน
– หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของทรัพย์สินมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
– หลักฐานที่แสดงรายละเอียดความเสียหาย มูลค่า ระยะเวลาการจัดซ่อม เป็นต้น
สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) กรณีโอนเงิน (รับรองสำเนา)
สำนักงานใหญ่ / ศูนย์บริการของ บริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
– e-Mail Claimmotor@ ergo.co.th แผนกอุบัติเหตุรถยนต์
Lossadj@ ergo.co.th แผนกควบคุมราคา
– โทรสาร 0-2439-5778
– ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 0-2820-7000 ตลอด 24 ชั่วโมง
– สายด่วน 1219 ตลอด 24 ชั่วโมง
1.รีบแจ้งให้บริษัททราบทันที เมื่อทราบหรือพบความเสียหาย
2.ดำเนินการตามที่เจ้าหน้าที่บริษัท หรือบุคคลที่บริษัทมอบหมาย ให้คำแนะนำ
3.รีบดำเนินการป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งเก็บทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายไว้ เพื่อให้บริษัทตรวจสอบ
4.ในกรณีทรัพย์สินเสียหายจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือสงสัยว่าเป็นการกระทำของบุคคลภายนอก ให้รีบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ทันที เพื่อเป็นหลักฐาน
5.ผู้เอาประกันภัยส่งเอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมายังบริษัท
6.บริษัทพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครอง
7.บริษัทแจ้งผลการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน พร้อมหนังสือตกลงค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
8.ผู้เอาประกันภัยลงนามยืนยันในหนังสือตกลงค่าสินไหมทดแทน และส่งกลับมายังบริษัท
9.บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลที่มีสิทธิรับเงินค่าสินไหมทดแทน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน
10.ให้ความร่วมมือกับบริษัทหรือบุคคลที่บริษัทมอบหมาย เพื่อทำการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคืน (Recovery) จากบุคคลที่ก่อความเสียหาย
เมื่อบริษัทได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วน บริษัทจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมภายใน 15 วัน หรือตามที่ตกลงกัน หลังจากที่ลูกค้าหรือผู้มีสิทธิรับค่าสินไหมลงนามในเอกสารสัญญาตกลงประนีประนอมชดใช้ค่าสินไหม และจัดส่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
– หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้เอาประกันภัย
– สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกันภัย / สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน (กรณีนิติบุคคล) (รับรองสำเนา)
– หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือการมีส่วนได้กับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาโฉนดที่ดิน เป็นต้น
– สำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อม / สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าซ่อม
– ภาพถ่ายความเสียหาย
– สำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจท้องที่ และรายงานผลคดีกองพิสูจน์หลักฐาน
– สำเนาโฉนดที่ดิน / หลักฐานแสดงราคาทรัพย์สิน (รับรองสำเนา)
– หลักฐานแสดงราคาทรัพย์สินที่เสียหาย (รับรองสำเนา)
– เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานใหญ่ / ศูนย์บริการของ บริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
– e-Mail Claimmotor@ ergo.co.th แผนกอุบัติเหตุรถยนต์
Lossadj@ ergo.co.th แผนกควบคุมราคา
– โทรสาร 0-2439-5778
– ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 0-2820-7000 ตลอด 24 ชั่วโมง
– สายด่วน 1219 ตลอด 24 ชั่วโมง
1.สำรวจสภาพสินค้า และลักษณะหีบห่อที่บรรจุสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า
2.หากพบสินค้าเสียหาย หรือสูญหาย ให้ผู้ขนส่งหรือผู้รับฝากสินค้าออกหลักฐานระบุความเสียหาย หรือทำเป็นหมายเหตุความเสียหายลงในใบรับสินค้า
3.ในกรณีที่สินค้านำส่งมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ให้ตรวจสอบซีลของตู้บรรทุกสินค้า และสภาพของตู้บรรทุกสินค้าว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากเกิดความเสียหาย หรือสงสัยว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น ควรเก็บหลักฐานพร้อมแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบในทันที
4.ยื่นหนังสือเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ขนส่ง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที
5.กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบสินค้า แต่พบในภายหลัง เจ้าของสินค้าจะต้องทำหนังสือแจ้งถึงความเสียหาย หรือสูญหายต่อบริษัทเรือหรือตัวแทนบริษัทเรือทันทีภายใน 3 วันนับจากวันรับมอบสินค้า
6.แจ้งตัวแทนบริษัทเรือและบริษัททราบถึงความเสียหายหรือสูญหายที่เกิดขึ้น เพื่อบริษัทจะได้แนะนำวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง และส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจความเสียหายทันที
เมื่อบริษัทได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วน บริษัทจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมภายใน 15 วัน หรือตามที่ตกลงกันหลังจากที่ลูกค้าหรือผู้มีสิทธิรับค่าสินไหมลงนามในเอกสารสัญญาตกลงประนีประนอมชดใช้ค่าสินไหม และจัดส่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
– หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้เอาประกันภัย (Claim Notification Letter)
– สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกันภัย / สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน (กรณีนิติบุคคล) (รับรองสำเนา)
– ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล (Original Policy / Certificate of Insurance)
– ใบตราส่ง / ใบส่งสินค้า (Bill of Landing or Airway Bill)
– ใบกำกับภาษี / ใบแสดงราคา (Invoice)
– ใบบรรจุภัณฑ์ (Packing List)
– ใบขนสินค้าขาเข้าหรือขาออก (Customs Document Import or Export)
– หลักฐานแสดงความเสียหายออกโดยผู้ขนส่ง (Survey Note, DMC, Delivery Order)
– หลักฐานการบันทึกความเสียหายเมื่อรับสินค้า (Survey Note / Wharf Survey / Damage Cargo List)
– สำเนาจดหมายที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง (Statement of claim to carrier)
– เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานใหญ่ / ศูนย์บริการของ บริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
– e-Mail Claimmotor@ ergo.co.th แผนกอุบัติเหตุรถยนต์
Lossadj@ ergo.co.th แผนกควบคุมราคา
– โทรสาร 0-2439-5778
– ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 0-2820-7000 ตลอด 24 ชั่วโมง
– สายด่วน 1219 ตลอด 24 ชั่วโมง
1.กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม
2.เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
3.ยื่นหลักฐานการเรียกร้องค่าสินไหม
4.บริษัทพิจารณาเงื่อนไขความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
5.การจ่ายค่าสินไหมทดแทน จะทำโดย 2 วิธี คือ
– เช็คธนาคาร ระบุชื่อผู้เอาประกันภัย / ผู้รับประโยชน์
– เงินโอนเข้าบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) ของผู้เอาประกันภัย / ผู้รับประโยชน์ ตามที่ระบุไว้
ระยะเวลาในการพิจารณาจ่ายค่าสินไหม นับจากวันที่บริษัทได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน บริษัทจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมภายใน 15 วัน หรือตามที่ตกลงกัน
กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล
– กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม
– สำเนาบัตรประกันภัย
– สำเนาบัตรประชาชน / บัตรประจำตัวราชการ (รับรองสำเนา)
– ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่แสดงรายการค่ารักษาพยาบาล
– หนังสือรับรองแพทย์ที่ระบุอาการ และบริเวณที่เป็นอย่างชัดเจน
– ใบสรุปหน้างบค่ารักษาพยาบาล
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) (รับรองสำเนา)
หมายเหตุ: กรณีเอกสารไม่สมบูรณ์หรือไม่เพียงพอ บริษัทขอสงวนสิทธิการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน และมีสิทธิร้องขอให้นำส่งเอกสารเพิ่มเติม เพื่อการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมต่อไป
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพฯ
– กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม
– สำเนาบัตรประกันภัย
– สำเนาบัตรประชาชน / บัตรประจำตัวราชการ (รับรองสำเนา)
– ประวัติการรักษาพยาบาลตั้งแต่เริ่มแรกถึงปัจจุบัน
– รูปถ่ายปัจจุบันของผู้เอาประกันภัย
– ฟิล์มเอ็กซเรย์ (ถ้ามี)
– ใบรายงานแพทย์ตามแบบฟอร์มของบริษัท
– สำเนาหนังสือรับรองความพิการ หรือสำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ (รับรองสำเนา)
หมายเหตุ: 1.กรณีชื่อ หรือนามสกุล ไม่ตรงกับข้อมูลของบริษัท จะต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ หรือนามสกุล หรือใบทะเบียนสมรส ของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์
2.กรณีที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บริษัทจะจ่ายให้บิดาหรือมารดา หรือผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็น
ผู้ปกครองเป็นผู้รับเงินแทนผู้เยาว์
3.กรณีที่ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์เสียชีวิตทั้งหมด บริษัทจะจ่ายให้ผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็น
ผู้จัดการมรดกเป็นผู้รับเงิน
4.เอกสารใดๆ ตามรายการข้างต้น ถ้าท่านไม่สามารถจัดส่งให้บริษัทได้ จะต้องแจ้งให้บริษัททราบเป็น
ลายลักษณ์อักษร เพื่อบริษัทจะได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
กรณีเบิกค่าชดเชย
– กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม
– สำเนาบัตรประกันภัย
– สำเนาบัตรประชาชน / บัตรประจำตัวราชการ (รับรองสำเนา)
– สำเนาใบเสร็จรับเงิน / สำเนาใบสรุปหน้างบค่ารักษาพยาบาล (รับรองสำเนา)
– สำเนาใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันที่นอนโรงพยาบาล อาการ และบริเวณที่เป็นอย่างชัดเจน / สำเนาใบรายงานแพทย์ (ใบเคลม)
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) (รับรองสำเนา)
หมายเหตุ: กรณีเอกสารไม่สมบูรณ์หรือไม่เพียงพอ บริษัทขอสงวนสิทธิการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน และมี
สิทธิร้องขอให้นำส่งเอกสารเพิ่มเติม เพื่อการพิจารณาจ่ายสินไหมต่อไป
กรณีเสียชีวิต
– สำเนาใบมรณบัตร (รับรองสำเนา)
– สำเนาหนังสือรับรองการตาย / ประวัติการรักษาพยาบาลย้อนหลังทั้งหมด (รับรองสำเนา)
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (รับรองสำเนา)
– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย ที่มีการจำหน่าย “ตาย” (รับรองสำเนา)
– สำเนาบัตรประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์ (กรณีผู้รับประโยชน์บรรลุนิติภาวะ) (รับรองสำเนา)
– สำเนาสูติบัตร, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์ที่เป็นผู้เยาว์ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของผู้รับประโยชน์ (กรณีผู้รับประโยชน์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) (รับรองสำเนา)
– สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับประโยชน์เป็นชาวต่างชาติ) (รับรองสำเนา)
– สำเนาใบรายงานแพทย์ตามแบบฟอร์มของบริษัท
– สำเนารายงานบันทึกประจำวันข้อแจ้งเกิดเหตุ และข้อแจ้งการตาย ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี
– สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพหน้า-หลัง ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนคดี
– อื่นๆ (ถ้ามี)
– สำเนารายงานการตรวจศพจากสถาบันนิติเวชวิทยา / สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (กรณีมีการตรวจพิสูจน์) (รับรองสำเนา)
– สรุปสำนวนการสอบสวนคดี
– รายงานข่าวการเสียชีวิตจากหนังสือพิมพ์
– สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) ของผู้รับประโยชน์ (รับรองสำเนา)
– ที่อยู่ของผู้รับประโยชน์ที่สามารถติดต่อได้ในปัจจุบัน พร้อมเบอร์โทรศัพท์
– คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก / หนังสือลำดับทายาทโดยธรรม (กรณีไม่ได้ระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์)
หมายเหตุ: 1. เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับจะต้องมีการรับรองสำเนาทุกครั้ง โดยทายาทโดยธรรม / ผู้มีสิทธิตาม
กฎหมาย
2. กรณีชื่อหรือนามสกุล ไม่ตรงกับข้อมูลของบริษัทจะต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ หรือนามสกุล
หรือใบทะเบียนสมรสของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์
3. กรณีที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บริษัทจะจ่ายให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็น
ผู้ปกครองเป็นผู้รับเงินแทนผู้เยาว์
4. กรณีที่มีผู้รับประโยชน์คนเดียว และผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนหรือพร้อมกันกับผู้เอาประกันภัย
บริษัทจะจ่ายให้ผู้ที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับเงิน
5. กรณีที่มีผู้รับประโยชน์หลายคน และผู้รับประโยชน์บางคนเสียชีวิตก่อน หรือพร้อมกันกับผู้เอา
ประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์มายังบริษัท สินไหมทดแทนจ่ายแก่
ผู้รับประโยชน์ที่เหลือคนละส่วนเท่าๆ กัน
6. เอกสารใดๆ ตามรายการข้างต้นนี้ ถ้าท่านไม่สามารถจัดส่งให้บริษัทได้ จะต้องแจ้งให้บริษัททราบเป็น
ลายลักษณ์อักษร เพื่อบริษัทจะได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
สำนักงานใหญ่ / ศูนย์บริการของ บริษัท เออร์โกประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
– e-Mail Claimmotor@ ergo.co.th แผนกอุบัติเหตุรถยนต์
Lossadj@ ergo.co.th แผนกควบคุมราคา
– โทรสาร 0-2439-5778
– ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 0-2820-7000 ตลอด 24 ชั่วโมง
– สายด่วน 1219 ตลอด 24 ชั่วโมง